Siam Daikin Sales Co.,Ltd (SDS)-THE MOST ADVANCED heatstroke
ตัวแทนจำหน่าย

เวลาทำการ

  • Mon - Fri : 07:00am - 19:00pm
  • Sat - Sun : 08:00am - 17.00pm
Heatstroke
Heatstroke

Problem

เราสามารเป็นโรคลมแดดได้แม้ในวันที่ฝนตกหนัก

ตามข้อมูลที่เผยแพร่โดยหน่วยงานจัดการอัคคีภัยและภัยพิบัติของกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสาร ตั้งแต่วันที่ 1-17 สิงหาคม ปี 2017 เป็นช่วงฤดูร้อน มีผู้ป่วยโรคลมแดดจำนวน 14,444 คน และได้ถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาล ในวันที่ 10-12 สิงหาคม แม้ว่าอุณหภูมิสูงสุดจะลดต่ำลงกว่า 30℃ แต่ก็ยังมีผู้ป่วยถูกส่งตัวไปโรงพยาบาล จำนวน 2,248 คน

ในช่วงฤดูร้อน ปี 2017 ญี่ปุ่นประสบปัญหาฝนตกหนักโดยเฉพาะใจกลางกรุงโตเกียว มีฝนตกติดต่อกันนานถึง 17 วันตั้งแต่วันที่ 1-17 สิงหาคม ทำสถิติฝนตกยาวนานที่สุดเป็นอันดับ 2 ในเดือนสิงหาคมนับตั้งแต่ปี 1977

ตั้งแต่ วันที่ 1-17 สิงหาคม เมื่อเทียบกับปี 2016 มีเพียงวันเดียวที่อุณหภูมิต่ำกว่า 30℃ และ อุณหภูมิสูงสุดเกิน 35℃ เกือบทุกวัน และ เกิดมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ โดยอุณหภูมิลดลงต่ำกว่า 30℃ เป็นเวลา 10 วัน ในปี 2017 ถือเป็นฤดูกาลที่อากาศสบาย ๆ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีความชื้นเฉลี่ยอยู่ที่ 85% ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 89 ปี

ดังนั้นเราจะมาพูดถึงสาเหตุของโรคลมแดดรวมไปถึงมาตรการรับมือกับโรคนี้ด้วย

Point

สาเหตุหลักของโรคลมแดดคือความชื้นสูง

เป็นที่เข้าใจผิดว่าโรคลมแดดมักเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคมในช่วงฤดูร้อน ความจริงมักเกิดในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นหน้าฝน หรือช่วงเดือนกรกฎาคมที่สิ้นสุดฤดูฝน เนื่องจากร่างกายยังไม่ชินกับความร้อนที่เพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน “ดัชนีความร้อน (WBGT)” ที่จัดทำโดยกระทรวงสิ่งแวดล้อมใช้ค่าตัวเลขเพื่อกำหนดความเสี่ยงของการเกิดลมแดดด้วยดัชนีที่ประกอบด้วย “อุณหภูมิ” “ความชื้น” และ “รังสีความร้อน”

อัตรา ณ เวลาคำนวณสำหรับการใช้งานร่างกายกลางแจ้งคือ ความชื้น 70% , รังสีความร้อน20% อุณหภูมิที่ร่างกายใช้ในที่ร่มคือ ความชื้น 70% รังสีความร้อน30% เนื่องจากความชื้นคิดเป็น 70% ของดัชนีความร้อนทั้งในร่มและกลางแจ้ง ยิ่งความชื้นสูง คุณก็ยิ่งต้องระวังเรื่องลมแดดมากขึ้นเท่านั้น

ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและความชื้น - กรณีตัวอย่างของโรคลมแดดตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กันยายน 2015

*ยิ่งสีแดงเข้มเท่าใหร่ จำนวนการช่วยเหลือฉุกเฉินก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

Source: Tokyo Fire Department * Partially modified

“ดัชนีความร้อน WBGT” สำหรับการประเมินความเสี่ยงโรคลมแดด

WBGT กลางแจ้ง = 0.7 x อุณหภูมิกระเปาะเปียก + 0.2 x อุณหภูมิกระเปาะดำ + 0.1 x อุณหภูมิกระเปาะแห้ง
WBGT ในที่ร่ม= 0.7 x อุณหภูมิกระเปาะเปียก + 0.3 x อุณหภูมิกระเปาะดำ

Source: "Heatstroke Environmental Health Manual 2018" Ministry of the Environment

ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ และในปี 2560 มีผู้ป่วยจำนวน 52,984 คน ถูกนำส่งโรงพยาบาลด้วยรถฉุกเฉินเนื่องจากเป็นลมแดด ซึ่งมีจำนวนครึ่งหนึ่งที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เมื่อเราอายุมากขึ้นเซ็นเซอร์อุณหภูมิของร่างกายจะไวต่อความร้อนน้อยลง ไม่สามารถสร้างความเย็นหรือควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้เมื่อเทียบกับคนที่อายุน้อยกว่า ในช่วงฤดูร้อน ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนและชื้น ด้วยอุณหภูมิห้องที่สูงกว่า 2℃ และความชื้นมากขึ้น 5%

เปอร์เซ็นของผู้ป่วยโรคลมแดดตามอายุ

Source: "Emergency transport due to heatstroke in 2017 (May to September)" Fire and Disaster Management Agency

แหล่งที่เกิดโรคลมแดดในปี2017

Source: "Emergency transport due to heatstroke in 2017 (May to September)" Fire and Disaster Management Agency

Solution

ตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 28 ℃ และความชื้นระหว่าง 50 - 60%

วิธีที่เหมาะสมที่สุดในการดูค่าความชื้นคือการใช้เครื่องเทอร์โมไฮโกรมิเตอร์ ควรระวังเพราะจะรู้สึกร้อนแม้ว่าอุณหภูมิจะอยู่ที่ 28 ℃ ระดับการแจ้งเตือนจะสูงขึ้น หากความชื้นมากกว่า 70% แทนที่จะเน้นเรื่องของอุณหภูมิ ควรใช้เครื่องปรับอากาศเพื่อควบคุมความชื้นให้อยู่ระหว่าง 50 ถึง 60%


การสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้นอนหลับง่ายก็สามารถเป็นมาตรการรับมือต่อโรคลมแดดในตอนกลางคืนได้

หากคุณต้องการใช้เครื่องปรับอากาศยาวนานตลอดทั้งคืน เมื่อคุณเข้านอนให้ตั้งอุณหภูมิให้สูงกว่า 28 ℃ และตั้งค่าความชื้นระหว่าง 50 ถึง 60% ในโหมดลดความชื้น การลดความชื้นจะทำให้อุณหภูมิที่เหมาะสมลดลงโดยไม่ทำให้ร่างกายเย็นเกินไป วิธีนี้ เหงื่อจะแห้งทันทีทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น

หากคุณต้องการนอนพักผ่อนโดยไม่เปิดเครื่องปรับอากาศ ให้ใช้โหมดจับเวลา ปริมาณเหงื่อจะเพิ่มขึ้นทันทีหลังจากเข้านอน แต่ก็สามารถทำให้ห้องเย็นลงได้ด้วยโหมดจับเวลา ซึ่งโหมดนี้ความชื้นจะถูกควบคุมไปด้วย ทำให้เหงื่อแห้งจนหลับได้ง่ายขึ้น หากตั้งเวลาปิดไว้ที่ 3 ชั่วโมง คุณจะเพลิดเพลินกับการนอนหลับสนิทอย่างมั่นคงโดยไม่มีการรบกวนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ

นอกจากนี้ เมื่ออากาศร้อนเกินกว่าจะนอนได้ ในวันที่อากาศร้อนจัดหรืออุณหภูมิ 28 ℃ สิ่งสำคัญคือต้องป้องกันร่างกายไม่ให้เสี่ยงที่จะเป็นลมแดด ด้วยการใช้มาตรการที่เหมาะสม เช่น การลดอุณหภูมิลงให้เป็นอุณหภูมิที่ตั้งไว้ซึ่งจะไม่ทำให้หนาวเย็นเกินไป